306 จำนวนผู้เข้าชม |
อุปกรณ์ทางการแพทย์ : ส่วนใหญ่แล้ว สำหรับผ้าสปันบอนด์ จะเน้นผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ใช้แล้วทิ้ง อาทิเช่น มาร์กหน้า , ชุดผ่าตัดมาตรฐาน , ชุดคลุม , หมวก , กางเกง , ถุงหุ้มรองเท้า , ถุงหุ้มหมอน , ผ้าปูที่นอน , ผ้าม่าน ฯลฯ ถึงแม้ว่า ผ้าสปันบอนด์ จะไม่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค แต่เราก็ไม่นิยม นำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ด้วย
สินค้าสุขอนามัย : นิยมใช้มากที่สุด คือ ผ้าอ้อมเด็ก , ผ้าออมผู้ใหญ่ และผ้าอนามัย เนื่องจากคุณสมบัติของผ้าสปันบอนด์ ที่ไม่เป็นสารเคมี ไม่เป็นอันตรายต่อผิว จนทำให้ผิวระคายเคือง น้ำหนักเบา ไม่ดูดซับน้ำ รวมถึงระบายอากาศได้ดีด้วย ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้การผลิตสินค้า จำพวกสุขอนามัย มีความหลากหลายมากขึ้น มีการทำให้สินค้า มีความหนาน้อยลง ดีไซน์หลากหลาย หรือจะเป็นการใส่กลิ่นน้ำหอมอ่อน ๆ โดยที่ไม่ระคายเคืองต่อผิว
บรรจุภัณฑ์ : ได้แก่ ถุง ( ใช้แทนถุงพลาสติก ) , ผ้าใบกันน้ำ ( ตัวอย่าง เต้นท์และรถบรรทุก ) , ถุงใส่เครื่องหอม ( บุหงา ) , ของใช้สำหรับโรงแรม ฯลฯ
งานก่อสร้าง : โดยส่วนมากแล้ว ผ้าสปันปอนด์ จะถูกนำไปใน ส่วนของการหนุนหลังคาบ้าน / กระเบื้อง , แผ่นหุ้มตัวบ้าน , งานตัดต่อ , การทำนั่งร้าน และหญ้าเทียม เนื่องจากมีคุณสมบัติ ในการไม่ดูดซึมน้ำ แสงแดด ทนต่อความชื้น ป้องกันการเกิดเชื้อรา และป้องกันแสดงแดดได้ดี นอกจากนี้ ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถนำไปแปรรูป เป็นสินค้าชนิดอื่น ได้หลากหลาย อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำด้วย
อุตสาหกรรมรถยนต์ และไส้กรอง : มักจะพบมากใน พรมรถยนต์ , ส่วนประกอบภายในรถยนต์ , ไส้กรองอากาศ , ตะแกรงกรองฝุ่น เป็นต้น เนื่องจากผิวสัมผัสของผ้า ที่ไม่เป็นอันตรายต่อผิว มีความเรียบนุ่ม สม่ำเสมอ ง่ายต่อการตัดเย็บ อีกทั้ง ยังล้างทำความสะอาดได้ง่าย ไม่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค
กระเป๋าผ้า : อีก 1 ไอเท็ม ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน สำหรับการผลิตกระเป๋า จากผ้าสปันบอนด์ คุณสมบัติที่ดีของกระเป๋าผ้า คือ ความคุ้มค่าในการใช้งาน ซึ่งสำหรับเนื้อผ้าสปันบอนด์ ก็ติดอันดับ 6 เนื้อผ้าที่นิยมใช้ทำกระเป๋าผ้า เช่นกัน การเลือกความหนาของผ้าสปันบอนด์ ที่เหมาะสมสำหรับ การทำกระเป๋าผ้าพรีเมี่ยม ควรมีความหนาระหว่าง 45 แกรม - 75 แกรม เพราะมีความหนาที่มากจนเกินได้ หรือบางจนเกินไป